วิศวกรรมยานยนต์
ชื่อเต็มปริญญา (ไทย)
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมยานยนต์)
ชื่อเต็มปริญญา (อังกฤษ)
Bachelor of Engineering (Automotive Engineering)
ชื่อย่อปริญญา (ไทย)
วศ.บ. (วิศวกรรมยานยนต์)
ชื่อย่อปริญญา (อังกฤษ)
B.Eng. (Automotive Engineering)
ชื่อเต็มปริญญา (ไทย)
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมยานยนต์)
ชื่อเต็มปริญญา (อังกฤษ)
Bachelor of Engineering (Automotive Engineering)
ชื่อย่อปริญญา (ไทย)
วศ.บ. (วิศวกรรมยานยนต์)
ชื่อย่อปริญญา (อังกฤษ)
B.Eng. (Automotive Engineering)
ปรัชญาหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ ด้านการออกแบบและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ ด้านกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีวัสดุ ด้านการบริหารจัดการสายการผลิต ด้านระบบควบคุมและระบบอัตโนมัติ และด้านการซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้เป็นวิศวกรที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นผู้มีทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม
โอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคต
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ ด้านการออกแบบและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ ด้านกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีวัสดุ ด้านการบริหารจัดการสายการผลิต ด้านระบบควบคุมและระบบอัตโนมัติ และด้านการซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้เป็นวิศวกรที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นผู้มีทักษะภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า)
144
หน่วยกิต
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
33
หน่วยกิต
1.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
3
หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
3
หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3
หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชาภาษา
24
หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาเฉพาะ
105
หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน
60
หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาบังคับสาขา
26
หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมยานยนต์
7
หน่วยกิต
2.4 กลุ่มวิชาเลือกสาขา
12
หน่วยกิต
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า)
144
หน่วยกิต
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
33
หน่วยกิต
1.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
3
หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
3
หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3
หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชาภาษา
24
หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาเฉพาะ
105
หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน
60
หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาบังคับสาขา
26
หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมยานยนต์
7
หน่วยกิต
2.4 กลุ่มวิชาเลือกสาขา
12
หน่วยกิต
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี
6
หน่วยกิต
แผนการศึกษา
ภาคเรียนที่ 1
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1
พัฒนายกระดับทักษะความสามารถทางการพูด ฟัง อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน เพื่อให้มีความสามารถในการพูด สื่อสารเรื่องต่าง ๆ อ่านและเขียนเรื่องราวต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้ในระดับดี ศึกษาและเรียนรู้จากสื่อการสอนหลากหลายรูปแบบและจากวิธีการสอนหลายชนิด ประเภท ทั้งในรูปแบบของการเรียนการสอนในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน มีการเตรียมตัวเพื่อสอบวัด TOEIC ให้ได้คะแนน 400-500 คะแนน และมีการประเมินวัดระดับความสามารถของผู้เรียนและพัฒนาขึ้นเป็นระยะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียนตลอดระยะเวลาของการเรียนในภาคเรียน
ดูเพิ่มเติมภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 1
เรียนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น เรียนโครงสร้างประโยค คำศัพท์ต่างๆ ประมาณ 200 คำ เรียนและฝึกการสนทนาภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นอย่างเข้มข้น เรียนตัวอักษรฮิระงะนะ และคะตะคะนะ เรียนตัวคันจิให้รู้ 100 ตัว ฝึกทักษะในการอ่าน เขียน ตัวอักษรญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น พัฒนาทักษะในด้านการอ่าน พูด ฟัง และเขียนให้อยู่ในระดับใช้การได้ดี โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้หลายรูปแบบ ทั้งในและนอกชั้นเรียน มีการสร้างแรงจูงใจให้อยากเรียน รวมทั้งมีการฝึกปฏิบัติ การใช้สื่อรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย และมีการทดสอบความสามารถเป็นระยะๆ ในทักษะทั้ง 4 ด้าน และพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้น มีการเตรียมความพร้อมที่จะสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นระดับ N5
ดูเพิ่มเติมฟิสิกส์ทั่วไป
เวกเตอร์ จลนศาสตร์ แรง การเคลื่อนที่ โมเมนตัม พลังงาน สมดุล การเคลื่อนที่แบบหมุน โมเมนตัมเชิงมุม แรงโน้มถ่วง กลศาสตร์ของไหล การเคลื่อนที่แบบมีคาบ เทอร์โมไดนามิกส์ คลื่น
ดูเพิ่มเติมปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
ทำการทดลองตามเนื้อหาในรายวิชาฟิสิกส์ทั่วไป
ดูเพิ่มเติมเคมีทั่วไป
ปริมาณสารสัมพันธ์ พื้นฐานทฤษฏีปรมาณู คุณสมบัติของแก๊ส ของเหลว ของแข็งและสารละลาย สมดุลทางเคมี สมดุลอิออนและกรด-เบส ไตเตรชัน จลศาสตร์เคมี โครงสร้างอิเล็กตรอนของอะตอม เคมีไฟฟ้า พันธะเคมี คุณสมบัติตามตารางธาตุ ธาตุตัวแทน อโลหะและโลหะตัวนำ สารประกอบและโพลิเมอร์ เคมีอินทรีย์และเคมีสิ่งแวดล้อม
ดูเพิ่มเติมปฏิบัติการเคมีทั่วไป
ทำการทดลองตามเนื้อหาในรายวิชาเคมีทั่วไป
ดูเพิ่มเติมแคลคูลัส 1
ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชั่น อนุพันธ์ของฟังก์ชั่นพีชคณิต และฟังก์ชั่นอดิศัย อนุพันธ์อันดับสูง กฎลูกโซ่และอนุพันธ์โดยปริยาย การประยุกต์ของอนุพันธ์ อัตราสัมพัทธ์ ค่าเชิงอนุพันธ์รูปแบบไม่กำหนด การประยุกต์ใช้อนุพันธ์ในการร่างกราฟ อินทิกรัลจำกัดเขตและอินทิกรัลไม่จำกัดเขต อนุพันธ์และอินทิกรัลเชิงตัวเลข เทคนิคการอินทิกรัล การประยุกต์ของการอินทิกรัล อินทิกรัลไม่ตรงแบบ
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 2
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2
พัฒนายกระดับทักษะความสามารถทางการพูด ฟัง อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้อยู่ในระดับขั้นสูง โดยมีความสามารถในการพูด และฟังเรื่องราวต่างๆ ที่มีระดับยากขึ้น มีความสามารถในการอ่าน และเขียนเรื่องราวต่างๆ ที่มีระดับซับซ้อน โดยการเรียนรู้จากสื่อการสอนที่มีความทันสมัยหลากหลายชนิด และจากเทคนิคการสอนหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบของการเรียนการสอนในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองควบคู่ไปด้วย มีการเตรียมตัวสอบวัด TOEIC และมีการประเมินวัดระดับความสามารถของผู้เรียนเป็นระยะ ทั้งเพื่อเป็นการพัฒนาเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียนตลอดเวลาของการเรียนในภาคเรียน เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนแล้วผู้เรียนควรผ่านการสอบ TOEIC ได้สูงกว่า 500 คะแนนขึ้นไป
ดูเพิ่มเติมภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 2
เรียนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นระดับกลาง เรียนโครงสร้างประโยค คำศัพท์ต่างๆ ประมาณ 500 คำ ฝึกหัดสนทนาภาษาญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น ฝึกและพัฒนาทักษะในการอ่าน พูด ฟัง และเขียนภาษาญี่ปุ่น ให้อยู่ในระดับที่สามารถนำเสนอและเขียนเรื่องราวต่างๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นได้ดี ฝึกการเขียนตัวอักษรคันจิให้รู้ถึง 200 ตัว โดยการฝึกการเขียนที่เข้มข้น ผู้เรียนเรียนรู้โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสื่อการสอนและเทคนิคการสอนหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งมีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีการทดสอบเป็นระยะตลอดภาคเรียนเพื่อการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านให้สูงขึ้น เมื่อปลายภาคเรียน ผู้เรียนควรมีความสามารถผ่านการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 ได้
ดูเพิ่มเติมแคลคูลัส 2
ลำดับ และอนุกรมของจำนวนจริง อนุกรมกำลัง อนุกรมเทย์เลอร์ และการประมาณค่าเวกเตอร์ และพื้นผิวในปริภูมิสามมิติ แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าเวกเตอร์หนึ่งตัวแปร ระบบพิกัดเชิงขั้ว แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงหลายตัวแปร บทนำสู่สมการเชิงอนุพันธ์ และการประยุกต์
ดูเพิ่มเติมเขียนแบบวิศวกรรม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนแบบ การเขียนตัวอักษร การเขียนแบบเรขาคณิต การฉายภาพแบบภาพฉาย การเขียนและการอ่านแบบภาพฉาย การบอกขนาดและสัญลักษณ์ การเขียนแบบภาพประกอบ การสเกตแบบด้วยมือ และคอมพิวเตอร์
ดูเพิ่มเติมฟิสิกส์วิศวกรรม
สมบัติทางกายภาพของแสงและการมองเห็น ไฟฟ้าเบื้องต้น วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ไฟฟ้ากระแสตรง-สลับ แม่เหล็กไฟฟ้าเบื้องต้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเบื้องต้น ฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ฟิสิกส์อะตอม ควอนตัมฟิสิกส์
ดูเพิ่มเติมปฏิบัติการฟิสิกส์วิศวกรรม
หัวข้อการทดลองให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาของฟิสิกส์วิศวกรรม
ดูเพิ่มเติมกลศาสตร์วิศวกรรม 1
หลักการของสถิตยศาสตร์ ระบบของแรง และสภาพสมดุล แรงลัพธ์ แรงเสียดทาน หลักการของงานเสมือน เสถียรภาพของสมดุล โมเมนต์ความเฉื่อย จุดศูนย์ถ่วง วิเคราะห์แรงในโครงสร้าง
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 3
การโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร
แนวคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ การติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แนวคิด EDP และการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอน วิธีการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การทำโปรแกรมด้วยภาษาขั้นสูง แนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง โมดูลาร์และแบบเชิงวัตถุ ชนิดของข้อมูลแบบต่าง ๆ หลักการควบคุมการทำงานแบบซ้ำ แบบเลือกทำและการตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ พัฒนาการของโปรแกรมเชิงวัตถุ โดยให้มีการปฏิบัติควบคู่กับเนื้อหาที่เรียน
ดูเพิ่มเติมการปฏิบัติพื้นฐานวิศวกรรม
การใช้เครื่องมือพื้นฐาน เช่น เครื่องกลึง เครื่องตัด เครื่องเจาะ เครื่องไส เครื่องเลื่อย เครื่องเจียระไนราบ และเครื่องมือวัดละเอียดต่างๆ เช่น ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียร์ นาฬิกาวัด วิธีการเชื่อม เทคนิคของการเชื่อม รวมถึงความปลอดภัยในโรงงาน เป็นต้น
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 4
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3
พัฒนายกระดับทักษะความสามารถทางการพูด ฟัง อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้อยู่ในระดับก้าวหน้า (Advanced) โดยมีความสามารถทางภาษาอังกฤษในด้านการพูดและฟังเรื่องราวที่ยากและซับซ้อนได้ดี สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ ตลอดจนนำเสนอผลงานได้ดี มีความสามารถในการอ่าน และเขียนเอกสารที่มีความซับซ้อนได้โดยการเรียนรู้จากสื่อการสอนที่ทันสมัยหลากหลายรูปแบบ และใช้วิธีการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ทั้งในการเรียนในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษ มีการเสริมแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน และมีการประเมินผลความสามารถในทักษะทั้ง 4 ด้าน เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ มีการเตรียมตัวสอบ TOEIC และมีการปรับคุณภาพของผู้เรียนตามผลการทดสอบอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาในภาคเรียน เมื่อจบการเรียนผู้เรียนควรสอบวัด TOEIC ได้สูงกว่า 600 คะแนน
ดูเพิ่มเติมภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 3
เรียนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นระดับสูง เรียนโครงสร้างประโยคคำศัพท์ต่างๆ ประมาณ 800 คำ ฝึกหัดการสนทนาภาษาญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น ฝึกและพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่าน เขียน พูด ฟังภาษาญี่ปุ่นให้อยู่ในระดับที่ซับซ้อน สามารถทำการสื่อสารด้วยการสนทนาและอ่าน เขียนได้อย่างดี เรียนรู้คันจิได้ถึง 350 - 400 ตัว โดยใช้การเรียนรู้ด้วยสื่อที่ทันสมัยหลากหลายรูปแบบ และเทคนิคการสอนหลายชนิดประเภท รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มีการสร้างแรงจูงใจ ในการเรียน มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีการสอบวัดระดับความสามารถเป็นระยะตลอดการเรียนในภาคเรียน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ มีการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นระดับ N4
ดูเพิ่มเติมคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม
สมการเชิงอนุพันธ์สามัญและสมการเชิงอนุพันธ์ย่อยเชิงเส้น ปัญหาค่าขอบเขต การแปลงลาปลาซ อนุกรมฟูเรียร์ สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย ระบบสมการเชิงเส้นทั่วไป เมตริกซ์ และระเบียบวิธีเชิงตัวเลข ฝึกใช้โปรแกรมช่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์
ดูเพิ่มเติมวัสดุวิศวกรรม
วัสดุวิศวกรรมชนิดต่างๆ เช่น โลหะ พลาสติก ยาง แอสฟัลต์ ไม้ และคอนกรีต แผนภาพสมดุลและการแปลผลการทดสอบและความหมายของสมบัติต่างๆ การศึกษาโครงสร้างมหภาคและจุลภาคที่สัมพันธ์กับสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรม กระบวนการผลิตทั่วไปสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุวิศวกรรมรวมถึงวัสดุนาโน (Nano Materials)
ดูเพิ่มเติมกลศาสตร์วิศวกรรม 2
พลศาสตร์ของอนุภาค การเคลื่อนที่สมบูรณ์และสัมพัทธ์ของวัสดุเกร็ง กฏการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน งานและพลังงาน อิมพัลส์และการเคลื่อนที่ ทฤษฎีพื้นฐานของการสั่นสะเทือน
ดูเพิ่มเติมเทอร์โมไดนามิกส์
คำจำกัดความและแนวคิดเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิกส์ คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์และก๊าซอุดมคติ งาน และความร้อน กฏข้อหนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ กฏข้อสองของเทอร์โมไดนามิกส์ และวัฏจักรของคาร์โนท์ เอนโทรปี การถ่ายเทความร้อนและการเปลี่ยนรูปพลังงานเบื้องต้น การย้อนกลับได้และการใช้ประโยชน์ได้ วัฏจักรความเย็น วัฏจักรมาตรฐานอากาศของคาร์โนท์และวัฏจักรกำลังมาตรฐานอากาศ
ดูเพิ่มเติมวิศวกรรมยานยนต์ 1
ความเป็นมาของยานยนต์ ชนิดของยานยนต์ ชนิดของเครื่องยนต์ หลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องยนต์ ระบบหล่อลื่น ระบบระบายความร้อน ระบบส่งกำลัง ระบบขับเคลื่อน ระบบรองรับ ระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรก ล้อและยาง เทคโนโลยีความปลอดภัย ระบบอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีต่างๆในยานยนต์สมัยใหม่
ดูเพิ่มเติมปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ 1
หัวข้อปฎิบัติสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ 1
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 5
ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 4
เรียนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางระดับต้น เรียนโครงสร้างประโยค คำศัพท์ต่างๆ ประมาณ 1,000 – 1,200 คำ ฝึกหัดการสนทนาภาษาญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น ฝึกและพัฒนาการทักษะในการอ่าน พูด เขียน ฟังภาษาญี่ปุ่นที่ซับซ้อน สามารถทำการสื่อสารด้วยการสนทนาและอ่าน เขียนได้อย่างดี โดยรู้คันจิประมาณ 500 ตัว มีการเรียนรู้โดยการใช้สื่อที่ทันสมัย การใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายชนิดประเภท มีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตลอดจนมีการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นเป็นระยะๆ เพื่อพัฒนาฟื้นฟูศักยภาพด้านภาษา เมื่อจบการเรียนแล้วผู้เรียนควรมีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นสอบผ่านระดับ N4
ดูเพิ่มเติมสถิติและความน่าจะเป็น
ความหมายและวิธีการทางสถิติ ลักษณะปัญหาทางสถิติ ทฤษฎีความน่าจะเป็นเบื้องต้น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงของตัวแปรสุ่ม ทฤษฎีการสุ่มตัวอย่างพร้อมทั้งการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวางแผนการทดลองเบื้องต้น การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างง่าย
ดูเพิ่มเติมกลศาสตร์ของไหล
คุณสมบัติของของไหล สมดุลของไหลที่อยู่นิ่ง นิยามและวิธีวิเคราะห์การไหล ความต่อเนื่อง สมการโมเมนตัมและพลังงานที่มีปริมาตรจำกัด ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียดของของไหลแบบนิวตันเนียน สมการความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ การวิเคราะห์มิติและความคล้ายคลึง การไหลแบบลามินาร์และเทอร์บูแลนท์ ทฤษฎีชั้นของการไหล การไหลในท่อ การไหลของของไหลที่อัดตัวได้
ดูเพิ่มเติมวิศวกรรมไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้ากระแสตรง วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบไฟฟ้ากำลัง วงจรแม่เหล็กและหม้อแปลง วงจรออพแอมป์ อุปกรณ์และวงจรอิเลกทรอนิกส์ วงจรดิจิตอล ไอซี เครื่องมือวัดไฟฟ้า ระบบควบคุม เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
ดูเพิ่มเติมปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า
การฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและเครื่องจักรกลไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมความรู้ทางทฤษฎีที่ได้เรียนในวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ดูเพิ่มเติมปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล
การทดลองพื้นฐานทางเทอร์โมไดนามิกส์ กลศาสตร์ของไหล กลศาสตร์ของแข็ง กลศาสตร์วัสดุ
ดูเพิ่มเติมกลศาสตร์วัสดุ
แรง ความเค้น และความเครียด ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด ไดอะแกรมของแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด การวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่รับแรงแนวแกน แรงบิด ความเค้นในคาน การโก่งของคาน การโก่งของเสา ภาชนะความดัน ความเค้นผสม วงกลมโมร์ ทฤษฎีความเสียหาย
ดูเพิ่มเติมวิศวกรรมยานยนต์ 2
ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ ระบบควบคุมต่าง ๆ ในยานยนต์ ระบบควบคุมเครื่องยนต์ การควบคุมหัวฉีด การควบคุมการจุดระเบิด ระบบประจุอากาศ ระบบไอเสียและการควบคุมมลพิษ ระบบความคุมเกียร์อัตโนมัติ ระบบความคุมเบรก ระบบควบคุมเสถียรภาพของยานยนต์ ระบบสื่อสารระหว่างชุดควบคุมต่างๆในยานยนต์ ระบบปรับอากาศ เทคโนโลยีต่างๆในยานยนต์สมัยใหม่
ดูเพิ่มเติมปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ 2
หัวข้อปฏิบัติสอดคล้องกับเนื้อหาวิศวกรรมยานยนต์ 2
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 7
ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 5
เรียนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางระดับกลาง เรียนโครงสร้างประโยคและคำศัพท์ประมาณ 900 -1,000 คำ ฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสนทนาภาษาญี่ปุ่นอย่างเข้มข้นจนสามารถสื่อสารในระดับสูงได้ สามารถฟังข่าวสารจากสื่อต่างๆ ได้ สามารถเขียนรายงานเป็นภาษาญี่ปุ่นที่ดีได้ เรียนรู้ตัวอักษรคันจิได้ถึง 1,000 ตัว โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัย ใช้สื่อการสอนหลากหลายประเภท รวมทั้งการใช้เทคนิคการสอนประเภทต่างๆ อย่างหลากหลาย มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการจัดกิจกรรมเสริมต่างๆ รวมทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเองมีการสร้างแรงจูงใจในการเรียน ตลอดจนจัดให้มีการประเมินผลความสามารถเป็นระยะๆ ตลอดระยะของการเรียนในรายวิชา เมื่อผู้เรียนจบการเรียนระดับนี้แล้ว ควรสอบผ่านการสอบภาษาญี่ปุ่นได้ถึงระดับ N3
ดูเพิ่มเติมเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
หลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนและค่าใช้จ่าย ผลกระทบของดอกเบี้ย และระยะเวลาต่อจำนวนเงิน แผนภูมิกระแสเงิน เครื่องมือการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ เช่น มูลค่าเทียบเท่าปีปัจจุบัน อัตราผลตอบแทน ระยะเวลาคุ้มทุน อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน ค่าเสื่อมราคา การวิเคราะห์การเปลี่ยนทดแทน ความไวต่อความเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์ความเสี่ยง
ดูเพิ่มเติมการวัดทางวิศวกรรมยานยนต์
แนวคิดในงานวัด ความคลาดเคลื่อนในการวัด และการลดความคลาดเคลื่อนในระบบการวัด หลักการวัดแบบเปรียบเทียบพื้นฐานงานวัดมิติ การสอบเทียบเครื่องมือวัด การวิเคราะห์ทางสถิติของความคลาดเคลื่อน ตัวรับรู้สัญญาณ การตอบสนองทางพลวัตของระบบเครื่องมือวัด การประยุกต์วิธีทางดิจิตอลในการวัดทางกล หลักการทำงานของเครื่องมือวัด และอุปกรณ์ประกอบการวัดแบบต่างๆในงานอุตสาหกรรม การวัดปริมาณที่ใช้ในงานวิศวกรรม เช่น แรง ความดัน อุณหภูมิ การกระจัด อัตราไหล เสียง การสั่นสะเทือน และไอเสีย เทคโนโลยี และอุปกรณ์ยุคใหม่ การพิจารณาเลือกระบบงานวัดที่เหมาะสม
ดูเพิ่มเติมการสั่นสะเทือนทางกล
ระบบที่มีอันดับความอิสระ 1 อันดับ การสั่นโดยการหมุน การเคลื่อนที่แบบอิสระ การสั่นโดยแรง การสั่นโดยการหน่วงความหนืด การตอบสนองของระบบต่อแรงกระทำแบบต่าง ๆ การสั่นพ้องระบบที่มีอันดับความอิสระหลายอันดับ พิกัดหลักและพิกัดปกติ การตอบสนองในโหมดบรรทัดฐานระบบต่อเนื่อง วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการหาความถี่ธรรมชาติและรูปร่างการสั่น วิธีการออกแบบอุปกรณ์ป้องกันการสั่นแบบต่าง ๆ
ดูเพิ่มเติมการออกแบบเครื่องจักรกล
พื้นฐานกลไกต่างๆ การวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนกลไก การออกแบบทางกล คุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุ ทฤษฎีความเสียหายต่าง ๆ การออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์อย่างง่าย เช่น โซ่ เบรก คลัช และแบริ่ง เป็นต้น
ดูเพิ่มเติมกลศาสตร์เครื่องจักรกล
ระบบกลไก แผนผังจลนศาสตร์ ระดับอิสระในการเคลื่อนที่ ระบบชิ้นต่อโยงเสมือน การวิเคราะห์ความเร็ว ลูกเบี้ยว ขบวนเฟือง ขบวนเฟืองแบบ Epicyclic การวิเคราะห์ขบวนเฟืองแบบ Planetary จลนศาสตร์ในระบบเฟือง การวิเคราะห์ความเร่ง แผนผังความเร่ง การวิเคราะห์แรงในระบบกลไก แรงในระบบต่อโยง การวิเคราะห์แรงในสภาวะสมดุลสถิตย์ การวิเคราะห์แรงในสภาวะสมดุลจลน์ สมดุลในเครื่องจักรกล สมดุลสถิตย์ สมดุลจลน์
ดูเพิ่มเติมวิชาเลือกสาขา
ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกขอสาขานั้นๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 8
กรรมวิธีการผลิต
ทฤษฎีและหลักการของกระบวนการผลิต งานหล่อวัสดุ การขึ้นรูปชิ้นงาน การใช้เครื่องจักรตัดขึ้นรูปชิ้นงาน และเทคโนโลยีงานเชื่อม กระบวนการผลิตด้วยเซรามิคและโพลิเมอร์ ความสัมพันธ์ของวัสดุและกระบวนการผลิต วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือตัดโลหะ ลักษณะของเครื่องมือตัดโลหะ ของเหลวสำหรับการตัดโลหะ ศึกษาส่วนประกอบ หลักการทำงาน และการบำรุงรักษาเครื่องมือกลชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต หลักมูลฐานการคิดต้นทุนการผลิตและการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน
ดูเพิ่มเติมวิศวกรรมและการจัดการอุตสาหกรรม
หลักการจัดการและวิศวกรรมอุตสาหการ ประเภทกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม แผนผังกระบวนการผลิต การจัดองค์กรการผลิต การวางแผนและควบคุมการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความปลอดภัยในการผลิต การบำรุงรักษาเครื่องจักร การศึกษางาน การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวและเวลา การควบคุมคุณภาพการผลิต ระบบ 5 ส ในงานผลิต ระบบ Kaizen ในงานผลิต ระบบการผลิตแบบญี่ปุ่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรม
ดูเพิ่มเติมการควบคุมอัตโนมัติ
ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบควบคุมแบบวงเปิดและวงปิด แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบควบคุม ทรานสเฟอร์ฟังก์ชั่นบล๊อกไดอะแกรม โบดไดอะแกรม ซิกแนลโฟลว์กราฟ การวิเคราะห์การควบคุมโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ การวิเคราะห์เสถียรภาพและความแม่นยำของระบบ การวิเคราะห์ด้วยรูทโลกัส เทคนิคการชดเชยอย่างง่าย การจำลองปัญหาโดยการใช้โปรแกรม MATLAB การออกแบบและชดเชยของระบบควบคุม
ดูเพิ่มเติมเครื่องยนต์สันดาปภายใน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องยนต์ เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ วัฎจักรทางอุดมคติของเครื่องยนต์ การประจุอากาศและเชื้อเพลิง การจุดระเบิด การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิด การเผาไหม้เครื่องยนต์ชนิดอัดระเบิด การคายไอเสีย การวิเคราะห์และการควบคุมแก๊สไอเสีย การถ่ายเทความร้อน การวัดและการทดสอบเครื่องยนต์
ดูเพิ่มเติมเตรียมสหกิจศึกษา
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสหกิจศึกษา กระบวนการและขั้นตอนของสหกิจศึกษา ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ จริยธรรม และจรรยาบรรณวิศวกร ก่อนออกไปปฏิบัติงานที่สถานประกอบการ
ดูเพิ่มเติมวิชาเลือกสาขา
ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกขอสาขานั้นๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 10
สหกิจศึกษา
การปฏิบัติงานและแก้ปัญหาให้กับสถานประกอบการเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามความเห็นชอบของสาขาวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ในสาขา พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง มีทักษะวิชาชีพตามสาขาของนักศึกษา ช่วยพัฒนาความชำนาญ มีจริยธรรมและคุณธรรมหรือลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ให้ทำรายงานการแก้ปัญหาให้แก่สถานประกอบการส่งสาขาวิชาพร้อมทั้งมีการนำเสนอผล
ดูเพิ่มเติม
ภาคเรียนที่ 11
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติมกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติมวิชาเลือกสาขา
ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกขอสาขานั้นๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติมวิชาเลือกสาขา
ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกขอสาขานั้นๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติมวิชาเลือกเสรี
ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติมวิชาเลือกเสรี
ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ที่เปิดสอนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน
ดูเพิ่มเติม